WELOVEMAHIDOL

เราเป็นหนึ่งกลุ่มของ นักศึกษา ของ "มหิดล"หนึ่งกลุ่มของหนุ่ม สาว ผู้เคยใช้ชีวิตปีหนึ่ง ใน มหิดล ศาลายาหนึ่งกลุ่มของ ควาทรงจำ ที่เคยไหลเวียน ณ มหิดล ศาลายา จึงเป็นที่มาของ "เรา รัก มหิดล" welovemahidol เพราะใครๆก็เคย มีความทรงจำดีดี
มหิดล ศาลายา ที่แห่งนี้เป็น เสมือนบ้าน มหิดล ศาลายา ที่แห่งนี้เป็น เสมือนกำลังใจ มหิดล ศาลายา ที่แห่งนี้เป็น เสมือนความทรจำ มหิดล ศาลายา ที่แห่งนี้เป็น เสมือนความรักอันหอมหวาน
เพราะเราเชื่อว่า นักศึกษา และ(อดีต)นักศึกษา ผู้ที่เคย ได้ใช้ชีวิต ช่วงเวลาที่ดีดี ณ มหิดล ศาลายา ณ ที่แห่งนี้ ยังคงมีเรื่องราว ความทรงจำที่ดี อันมีคุณค่ากับหลายคน แม้ว่า ปัจจุบัน มหิดล ศาลายา จะเปลี่ยนแปลงไปมากเท่าใดก็ตาม แม้ว่าตึกกิจที่ใครหลายคน เคยได้ใช้ช่วงเวลาที่ดี นั้นไม่มีอีกแล้ว แต่เชื่อเถอะว่า ความทรงจำทีดีดีที่เราทุกคนยังเหลืออยู่ ก็ยังมีใคร อีกหลายคนที่คิดถึงเช่นกัน
มหิดล ศาลายา

วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

24 กันยายน วันมหหิดล


วันนี้วันมหิดล ๒๔ กันยายน เรานักศึกษาของพระราชบิดา ยังคงจดจำ และระลึกถึงปณิธานของพระองค์ท่าน
ที่ได้มอบให้เป็นสิ่งที่ยึดถือไว้ นั้นคือ"ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
ลาภทรัพย์และเกียรติยศจะตกมาแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ให้บริสุทธิ์
"
แต่ ณ วันนี้ปณิธานใหม่ของมหาวิทยาลัยมหิดลคือ: "ปัญญาของแผ่นดิน"
ดังนั้นเพื่อที่จะรู้ซึ้งถึงความหมายของปณิธานใหม่มหาวิทยาลัยมหิดล คือ “ปัญญาของแผ่นดิน”
ก่อนอื่นจำเป็นต้องพิจารณาคำหลัก 2 คำที่เกี่ยวข้อง คือ มหิดล อันเป็นชื่อของมหาวิทยาลัย
และ ปัญญา หรือ wisdom ตามคติพระพุทธศาสนา
ความหมายของ มหิดล คำว่า มหิดล เป็นคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต
จาก มหี “แผ่นดิน” + ตล “พื้น, ชั้น” มหิดล จึงแปลได้ว่า “พื้นแผ่นดิน”
คำอื่นๆ ในภาษาไทยที่มีโครงสร้างคำและความหมายในลักษณะ เดียวกันก็ได้แก่ พสุธาดล, ภูวดล
และ เมทนีดล (จาก วสุธา + ตล, ภุว + ตล และ เมทนี + ตล ตามลำดับ) คำชุดนี้ ซึ่งมีปรากฏในพจนานุกรม
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ล้วนแปลได้ ว่า “พื้นแผ่นดิน, พื้นโลก”
นอกจากพจนานุกรมไทยแล้ว ความหมายของ มหีตล จะกระจ่างขึ้นโดยอาศัยแหล่งอ้างอิง ดังต่อไปนี้
The Pali Text Society’s Pali-English Dictionary ของ Rhys Davids ให้ความหมายของ มหี ว่า “โลก” และ มหีตล “พื้น (โลก)”
The Practical Sanskrit-English Dictionary ของ Apte ให้ความหมายของ มหีตล ว่า “พื้นผิวโลก”
ในทำนองเดียวกัน A Sanskrit-English Dictionary ของ Monier-Williams ให้ความหมาย ของ มหี, ตล และ มหีตล
ดังนั้น มหี “ ‘โลกใหญ่’ โลก (ในภาษายุคหลัง หมายถึง พื้นแผ่นดิน, พื้นดิน, แผ่นดิน, ประเทศ ...” ด้วย)
ตล “พื้นผิว, ชั้น, หลังคาแบน (ของบ้าน) ...”
มหีตล “พื้นผิวโลก, พื้นแผ่นดิน, พื้นดิน”
ท้ายที่สุด A Practical Sanskrit Dictionary ของ Macdonell ให้ความหมายของ มหี ว่า “โลก, พื้นแผ่นดิน, พื้นดิน, แผ่นดิน, ประเทศ, อาณาจักร ...” และให้ความหมายของ ตล ว่า “พื้นผิว, ระนาบ; ... -ตล ที่ลงท้ายคำสมาส มักไม่ต้องแปล”
จากข้อมูลข้างต้นนี้ พอจะสรุปได้ว่า มหีตล (มหี + ตล) ในบาลีและสันสกฤต แปลตามรูปศัพท์ได้ว่า “พื้นผิวโลก, พื้นแผ่นดิน”
แต่เนื่องจาก ตล ที่อยู่ท้ายสมาส มักไม่สื่อความเพิ่ม คำว่า มหีตล (แผลงเป็น มหิตล และ มหิดล ใน ภาษาไทย) จึงมีความหมายเพียงว่า “โลก, พื้นแผ่นดิน, พื้นดิน” และใช้ในความหมายว่า “แผ่นดิน, ประเทศ, อาณาจักร” ด้วย

วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

ใกล้จะสอบ(อีกแร้ว)


การเรียนก้ผ่านพ้นไปครึ่งเทอมแรก หลังจากเวลาของกิจกรรมที่ผ่านมา ผ่านไปอย่างรวดเร็ว เพื่อนบางคนอาจจะไม่สามารถตั้งตัวให้เท่าทันกับช่วงเวลาที่ผ่านไปนั้นเอง จึงเป็นที่น่าเสียดาย สำหรับโอกาสที่ได้ก้าวเข้ามาอยู่ในรั้ว มหิดล ศาลายาแห่งนี้ ก็มีอันต้องหยุดพักสถานะการศึกษาที่นี้เป็นเพียงอดีต และเริ่มก้าวเดินในเส้นทางแห่งใหม่
หากเราลองมองถึงเวลาที่ มีคุณค่ากับตัวเรา หาใช่เวลาก่อนสอบไม่...หากแต่เวลาที่เรานั่งเรียน เวลาที่อาจารย์ให้เลคเชอร์ เรานั่งทำอะไรอยู่ หลับหรอ หิวหรอ ง่วงหรอ เป็นที่น่าคิดถึงกับเพื่อนหลายคน ที่เดินมาครึ่งทาง เหลืออีกเพียงนิดก็จะจบการศึกษา แต่เรื่องการดูแลตนเอง เป็นเรื่องที่เราย่อมต้องคำนึงถึงตลอดเวลา เราเป็นผู้รู้ เป็นผู้มีการศึกษา ฉะนั้นจงอย่าให้การศึกษามาเป็นตัวชี้นำเรา เราจงก้าวเดินให้ทันการศึกษาเถิด
จากเริ่มแรก ไม่มีใครเชือหรอกว่า วันเวลาที่มหิดล ศาลายาผ่านพ้นไปรวดเร็ว เพราะอะไรกิจกรรมต่างๆ พาเพลินไปสนุกจนลืมว่า เรามีภาระอันใหญ่ยิ่ง สำคัญเท่าๆกัน คือ การตั้งใจเรียน เราลืม...เมื่อเราได้ก้าวผ่านสิ่งสำคัยหนึ่ง คือการได้เข้ามาเป็นนักศึกษาแห่งนี้แล้ว เราไม่รู้วิธีการจัดการตนเอง กับเวลา กับเพื่อน กับกิจกรรม กับชีวิตที่มหิดล ศาลายาให้ลงตัว
"จงเล่นให้หนัก และเรียนให้หนัก"

ด่วนการสมัครนักศึกษา โควตา 2554 ของม.มหิดล



ในการเปิดรับสมัครครั้งนี้ ม.มหิดล จะเปิดรับสมัครตามโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท ของมหาวิทยาลัยมหิดล และจะมีการให้น้องๆ มาร่วมทำกิจกรรม เข้าค่ายเตรียมความพร้อม เพื่อลดการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยฯ โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท รวมทั้งกำหนดการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบบโควตาปีการศึกษา 2554 และข้อมูลจำนวนของการรับแต่ละคณะด้วย
มีข้อมูล ของคณะ/วิทยาลัยต่างๆ เช่น
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี
รายละเอียดต่างๆดูเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.mahidol.ac.th/admission/quota2011/

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมในมหาวิทยาลัยมหิดล

การเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยมหิดลนั้นไม่ได้มีแค่การเรียนอย่างเดียวเท่านั้น

เพราะการที่นักศึกษาเรียนอย่างเดียวนั้น ก็จะทำให้เกิดการพัฒนาทางด้สนความคิดอย่างเดียวนั้น

ซึ่งอาจทำให้นักศึกษาเป็นผู้ที่มุแต่การค้นคว้าหาความรู้ใส่ตัว แต่ไม่ได้นำไปพัฒนาเพื่อเป็นเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น

ดังคำขวัญของมหาวิทยาลัยมหิดลที่ว่า "Wisdom of the Land" หรือปัญญาของแผ่นดิน

คือการนำความรู้ที่เรามี ไปก่อประโยชน์แก่สังคมโดยรวม

กิจกรรมต่างๆ จึงจัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาได้มีจิตสำนึกแก่ส่วนรวม และเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์กับนักศึกษาคนอื่นๆ

โดยกิจกรรมต่างๆที่จัดขึ้นนั้น อาจจะจัดขึ้นโดย สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลเอง หรือ จัดโดยคณะต่างๆภายในมหาวิทยาลัย

มีตั้งแต่ค่ายที่เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมแก่นักศึกษา

กิจกรรมที่ส่งเสริมการแสดงออกของนักศึกษาที่มีทุกปี จากคณะวิศวะ หรือ คณะแพทยศาสตร์

หรือ กิจกรรมที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ แก่นักศึกษา เช่นงานรักน้อง

รวมถึงกิจจกรมที่ส่งเสริมการอนุรักษ์ธรรมชาติ

จึงมั่นใจได้เลยว่าถ้าได้ลองมาเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ จะไม่มีวันเบื่อแน่นนอน

วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

มหาวิทยาลัยสุขภาพ กับ สิงห์อมควัน




มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งที่มีชื่อเสียงทางด้านการแพทย์ และสาธารณสุข
โดยทางมหาวิทยาลัยได้มีโครงการส่งเสริม
สุขภาพแก่นักศึกษา บุคลากร เจ้าหน้าที่ประจำมหาวิทยาลัย ตลอดจนประชาชนทั่วไป อย่างสม่ำเสมอ
ทั้งที่ปรากฏออกมาในรูปแบบของการจัดกิจกรรมต่างๆ และในรูปแบบของการรณรงค์ประชาสัมพันธ์
เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพในระดับเบื้องต้นนั้นมีหลายๆ ประเด็นที่น่าสมนใจ หนึ่งในหลายๆประเด็นนั้นคือ
"เรื่องการสูบบุหรี่"
ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลายาวนานไม่จบไม่สิ้นซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายมากในการค้นหาแนวทางบุติปัญหานี้
ซึ่งสามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสบความสำเร็จ
ปัญหาการสูบบุหรี่ เรียกได้ว่าเป็นปัญหาระดับโลกก็ว่าได้
ซึ่งทุกคนคงทราบดีกันอยู่แล้วว่าการสูบบุหรี่นั้นเป็นสิ่งไม่ดี ทำให้เกิดโรคร้ายต่างๆ มากมาย
แต่ก็ดูเหมือนส่าบางคนรู้แล้วแต่ก็ยังทำ
เสมือนเป็นการพร้อมรับผลเสียที่จะเกิดขึ้นตามมาจากการสูบบุหรี่
ซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้เป็นเรื่องจริงที่น่าเป็นห่วงมาก
โดยเฉพาะในช่วงระยะเวลาไม่นานมานี้ ได้มีข้อมูลใหม่ๆ ที่น่าตกใจมากกมาย
อาทิเช่น กลุ่มประชากรที่มีอัตราการสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง คือ
กลุ่มเบาวชน 15-24 ปี
ประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ที่สูบบุหรี่ เริ่มสูบเมื่ออายุ 15-19 ปี
องค์การอนามัยโลกคาดว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะมีผู้สูบบุหรี่ถึง 13 ล้านคน
โดยผู้ชายไทยจะสูบบุหรี่น้อยลงแต่ผู้หญิงจะสูบเพิ่มมากขึ้น
ข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ดูเผินๆ แล้วอาจไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ เกินความคาดเดาของใครหลายคน
เนื่องจากในปัจจุบัน เราสามารถเห็นพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชนทั้งชายและหญิงได้
ตามสถานที่เที่ยว ตามท้องถนน มุมอับตามห้างสรรพสินค้า หรือแม้แต่ในสถานศึกษาเอง
จนบางครัง้สิ่งที่น่าตกใจเหล่านี้ได้กลายเป็นภาพชินตาของใครหลายคน
มิหนำซ้ำในบางโอกาศที่ได้ไปไหนมาไหนกับคนแก่ๆ รุ่นคุณปู่คุณย่า
เมื่อใดก็ตามที่คนเฒ่าคนแก่เหล่านี้ เห็นวัยรุ่นหัวเกรียนยืนสูบบุหรี่พ่นควันอย่างสบายอารมณ์
พวกท่านก็จะพากันตกอกตกใจ น้ำหมากระจาย
พร้อมเอ่ยประโยคประจำตัว "โอย เห็นแล้ว ยายจะเป็นลม"
แต่พวกเรากลับเห็นว่าอากัปกิริยาของพวกท่านเป็นเรื่องตลกสำหรับเรา
ซึ่งถ้าหากมองกันให้ลึกถึงประเด็นปัยหาเรื่องนี้แล้ว
มันไม่ใช่เรื่องเล็กๆ อีกต่อไป
เนื่องจากในสมัยก่อนการสูบบุหรี่จะกระทำกันในหมู่ผู้หลักผู้ใหญ่
ซึ่งส่วนมากเป็นผู้ชาย โดยอาจจะสูบกันในสถานที่ที่ค่อนข้างรโหฐาน
ซึ่งจุดประสงค์ในการสูบบุหรี่นั้น อาจจะเพื่อคลายเครียดหรือการสังสรรค์ เป็นต้น
หากแต่ในปัจจุบันนั้นสถิติของอายุผู้สูบบุหรี่ เริ่มต้นเมื่ออายุยังน้อยนัก
อีกทั้งกระทำกันอย่างแพร่หลายทั้งชายและหญิง
ตัวสินค้าเองก็หาซื้อกันได้ง่ายตามร้านค้าหรือร้านสะดวกซื้อต่างๆ
ซึ่งจะมองเห็นได้ถึงความสอดคล้องในอีกประการหน่งได้ว่า
"วัยรุ่น" จัดได้ว่ามีอัตราการสูบบุหรี่สูงขึ้นมาก
เนื่องจากวัยรุ่นนั้นเพิ่งก้าวข้ามความเป็นเด็ก
แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยังไม่เติบโตพอที่จะรับผิดชอบอะไรได้มากมายเหมือนผู้ใหญ่
ดังนั้น เมื่อความรู้อยากลองตามวิสัยของเด็ก
ประกอบกับภาวะที่อยากจะใช้ชีวิตได้อย่างเสรีตามแบบผู้ใหญ่
ทำให้การสูบบุหรี่ได้กลับกลายเป็รค่านิยมที่ผิดๆ ในหมู่วัยรุ่นบางกลุ่ม
อีกทั้งวัยรุ่นก็สามารถหาซึื้อบุหรี่ได้อย่างง่ายดาย
ด้วยปัจจัยทั้งหมดจึงนำมาซึ่งสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง
สืบเนื่องจากเรื่องราวทั้งหมดจะเห็นได้ว่า "มหาวิทยาลัยมหิดล"
มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับประเด็นปัญหานี้เนื่องจากนักศึกษาในมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่แล้ว
ก็คือวัยรุ่นนั่นเอง อีกทั้งมหาวิทยาลัยคือสถานศึกษาที่พัฒนาคน
ให้ก้าวสู่ความเป็นผู้ใหญ่ที่มีท้งความรู้ในทางวิชาชีพที่ได้เล่าเรียนมา
และคุณธรรมในการใช้ชีวิต
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "มหาวิทยาลัยมหิดล"
เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงด้านสุขภาพ
ดังนั้น มันก็ย่อมเป็นสิ่งที่ดีถ้าหากนักศึกษาในมหาวิทยาลัยมหิดล
จะเป็นส่วนหนึ่งในการเริ่มต้นที่จะลด ละ เลิกการสูบบุหรี่ ให้เป็นตัวอย่างแก่บุคคลอื่นๆ
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งแก่ตัวนักศึกษาเองในด้านสุขภาพและเป็นการรักษาภาพพจน์ของสถาบัน
เนื่องจากหัวใจหลักของมหาวิทยาลัย ก็คือ "นักศึกษา"
เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว หากการเลิกสูบบุหรี่คือการที่เรารักและศรัทธาในตนเอง
ก็ย่อมมีค่าเท่ากับการที่เรารักและศรัทธาในสถาบัน
เลิกสูบบุหรี่กันเถอะ

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

ฉันรักเธอ(คือน้องฉัน)




เพราะรักหรอก จึงพัดพา ไล่ลมร้อนไปให้ไกล
เพราะห่วงหรอก จึงถามไถ่ ความเป็นไป เพียงนาที
เพราะรักหรอก จึงไล่ยุง ไม่ดูดเลือด ของเธอไปเสียหมด
เพราะรักหรอก ฉันจึงมา เป็นพี่ ของเธอ
เพราะรักหรอก ฉันจึงแอบหยอด คำหวาน มีความนัย
เพราะรักหรอก เธอไม่รู้ จึงโทรหา เผื่อห่วงหา
เพราะรักหรอก จึงนัดพบ ในวันนี้ วันแรกพบ ที่ฉันรอเธอ
เข้าใจรึยัง ว่าฉันรักเธอ(คือน้องฉัน)
ต่อแต่นี้ จงเป็นพี่ที่ดี แก่น้องเธอ
แล้วพบกัน ในวัน นัดพบ วันรักน้อง

ดูเถอะเธอเอ๋ย ชีวิตเธอที่มหิดล ศาลายา เป็นเช่นนี้หรือไม่?

















ชีวิตนักศึกษา มหาวิทยาลัย
เมื่อเปิดเรียนปีการศึกษาใหม่:


อาทิตย์ที่1:
อาทิตย์ที่ 2:
ก่อนสอบกลางภาค:
ระหว่างสอบกลางภาค:
หลังสอบกลางภาค:
ก่อนสอบปลายภาค:
หลังจากที่รู้ตารางสอบปลายภาค:
7 วันก่อนสอบปลายภาค:
6 วันก่อนสอบปลายภาค:
5 วันก่อนสอบปลายภาค:
4 วันก่อนสอบปลายภาค:
3 วันก่อนสอบปลายภาค:
2 วันก่อนสอบปลายภาค:
1 วันก่อนสอบปลายภาค:
คืนก่อนสอบปลายภาค:
1 ชั่วโมงก่อนสอบปลายภาค:
ระหว่างสอบปลายภาค:
ทันทีที่เดินออกมาจากห้องสอบ:
หลังสอบปลายภาค เสร็จ :

ข่าวประชาสัมพันธ์ สำหรับคนมี ไอ เดีย


กติกาการส่งผลงานเข้าประกวด
มหาวิทยาลัยมหิดล ขอเชิญ นักศึกษา บุคลากรหรือศิษย์เก่า เข้าร่วมการประกวดตราสัญลักษณ์ ของ
เว็บไซต์ปัญญาไทย (Thai wisdom) ให้สื่อความหมาย “ปัญญาของแผ่นดิน” โดยให้มีความลงตัวระหว่าง
ความเป็นปัญญาไทยและความเป็นปัญญาของแผ่นดิน โดยไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น ชิงเงินรางวัล 20,000
บาท พร้อมเกียรติบัตร โดยส่งผลงานก่อนวันที่ 15 กันยายน 2553 และประกาศผลภายในวันที่
20 กันยายน 2553 ผ่านเว็บไซต์ http://www.mahidol.ac.th
1. ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดต้องเป็น บุคลากร หรือ นักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล หรือ บุคคลทวั่ ไป
2. ส่งได้ไม่เกิน 2 ผลงาน(สีและขาวดำนับเป็น 1 ผลงาน) ต่อบุคคล
3. ต้องไม่มีสัญลักษณ์ส่วนใดส่วนหนงึ่ ของสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยประกอบอยู่ในผลงานนัน้
4. ออกแบบผลงานทัง้ แบบสีและขาวดำที่สื่อถึง ความเป็นปัญญาไทยและปัญญาของแผ่นดิน
5. ออกแบบผลงานขนาด A3 ที่สามารถเปิดได้บนระบบปฏิบัติการ Windows โดยมีนามสกุลดังนี ้JPG, JPEG, AI
PSD, PNG, TIFF, RAW และมีความละเอียดไม่ตํ่ากว่า 300 DPI (Dot per inch)
6. มีคำอธิบายความหมายและองค์ประกอบของสัญลักษณ
7. การส่งผลงานให้พิมพ์ผลงานบนกระดาษ A3 ทัง้ 2 แบบ(สีและขาวดำ) ติดลงบนบอร์ดสีขาวหรือสีเทาส่
พร้อม CD ไฟล์ผลงานที่มี ไฟล์คำอธิบายความหมาย พร้อมชื่อ-นามสกุล เบอร์โทรติดต่อกลับและอีเมล์
8. ส่งผลงานก่อนวันที่ 15 กันยายน 2553 เวลา 16.00 น. ณ กองทรัพยากรบุคคล ชัน้ 4 เลขที่ 999
สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐ
9. ผู้ชนะเลิศจะได้รับเงินรางวัล 20,000 บาทพร้อมเกียรติบัตร
10. หากพบผลงานผู้ใดละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่นจะยุติการร่วมประกวดของผู้นัน้ ทันที
11. คำตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นเด็ดขาดและสิน้ สุด
12. สอบถามรายละเอียดเพมิ่ เติมที่ นายนัตตุลา ชัยเกตุ กองทรัพยากรบุคคล ชัน้ 4 เลขที่ 999 สำนักงาน
อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170 โทรศัพท์ 02-
8496275 โทรสาร 02-8496287

วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553

ฉันเป็นนักศึกษา ฉันเป็นผู้มาหา. . . .





"เธอเป็นใคร มาทำไมในวันนี้
มาใฝ่ศึกษาเพื่ออนาคตที่ดี มาเปรมปรีดิ์ สุขสันต์ฉันท์เพื่อนพ้อง
เธอเป็นนักศึกษา ผู้มาหาความแซ่ซ้อง
มาเพื่อหาเกราะปกป้อง เธอจะต้องเติบโตให้ก้าวทัน"

"เราดีใจและยินดีที่มีเธอ
เธอคือเลือดสีน้ำเงิน สีเดียวกัน
เราดีใจที่มีเธอเป็นเพื่อนพ้อง
เธอคือลูกพระราชบิดา เฉกเช่นเรา
เราคาดหวังให้เธอใช้ชีวิตอย่างคุ้มค่า
เธอคือนาฬิกาที่หมุนไปตามกาล
เราคาดหวังให้เธอเก็บเกี่ยยวในชีวิต
เธอจะคืนย้อนกาลเสียมิได้หรอก
เราจะเคียงคู่เธอ เพื่อมองเธอก้าวเดินต่อไป
เธอจะล้มแล้วลุกสักกี่ครั้งก็ได้
โปรดอย่าท้อ และก้าวถอย
เราจะบอกเธอให้ว่า
เธอคือ พลังแห่งแผ่นดิน
เธอคือ คุณค่าที่จะก่อเกิดกับมวลมนุษย์ชาติ"

BY: Peempattranit

ที่มาแห่งตรา มหาวิทยาลัย มหิดล




นับตั้งแต่วันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๑๒ เป็นต้นมา มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ได้รับ พระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าพระราชทานนามมหาวิทยาลัย “มหิดล” อันเป็นพระนามาภิไธยแห่งสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ดังพระราชปรารภความตอนหนึ่งว่า “โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์ จึงให้จัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยใหม่เรียกว่า “มหาวิทยาลัยมหิดล” มีขอบเขตดำเนินงานกว้างขวางยิ่งขึ้น”
หลังจากนั้นล่วงมาได้ ๕๓ วัน ศาสตราจารย์นายแพทย์ชัชวาล โอสถานนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลในขณะนั้น ได้เรียกประชุมคณบดีเพื่อกำหนดตรามหาวิทยาลัยโดยที่ประชุมมีมติให้อัญเชิญตราส่วนพระองค์มาเป็นต้นแบบตรามหาวิทยาลัย และได้มีหนังสือจากมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ สร.๒๓๐๑/๕๕๙๖ ลงวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๑๒ เรื่อง ขอพระราชทานตรามหาวิทยาลัยมหิดล ทูล ราชเลขาธิการ เพื่อนำความกราบบังคมทูลพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานตราแก่มหาวิทยาลัยมหิดลต่อไป
แบบร่างตราที่มหาวิทยาลัยมหิดลแนบเสนอไปทูลเกล้าฯ ในครั้งนั้น เมื่อค้นเอกสารจากงานจัดเก็บและรักษาเอกสาร กองกลาง สำนักงานอธิการบดี พบแฟ้มเลขที่ ๔.๑.๑ ที่มาของสี ตรา ต้นไม้สัญลักษณ์มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีเอกสารบันทึกข้อความ หัวกระดาษมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช ธนบุรี ลงวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๑๒ ลงนามโดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ กษาน จาติกวนิช ความตอนหนึ่งว่า “ท่านคณบดีคุณหมอสุดได้เสนอตราของมหาวิทยาลัยและยืนยันว่าได้ขยายมาจากหัวกระดาษ จดหมายของท่าน (สมเด็จพระบรมราชชนก-ผู้เขียน) โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง”
ศาสตราจารย์นายแพทย์ชัชวาล โอสถานนท์ อธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยมหิดลในขณะนั้น ได้สั่งการตามหนังสือลงวันที่๑๘ เมษายน ๒๕๑๒ ให้ศาสตราจารย์นายแพทย์สุด แสงวิเชียร อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล จัดทำตราดังกล่าว เป็นสามสำเนาเพื่อเก็บไว้ และอีกส่วนถวายไปให้เพื่อทรงทอดพระเนตร
ในแฟ้มเอกสารดังกล่าวนั้นยังได้พบตรามหาวิทยาลัยมหิดลแบบแรกที่มหาวิทยาลัยมหิดลได้มอบหมายให้นายแพทย์นันทวัน พรหมผลิน ผู้อำนวยการโรงเรียนช่างภาพทางการแพทย์ (โรงเรียนเวชนิทัศน์ สถานเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตรศิริราชพยาบาลในปัจจุบัน-ผู้เขียน) เป็นผู้ออกแบบ โดยมีอาจารย์กอง สมิงชัย อาจารย์โรงเรียนช่างภาพทางการแพทย์เป็นผู้ช่วยร่างแบบ ซึ่งแบบตราดังกล่าวได้นำตราของมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ ซึ่งเดิมเป็นตรางูพันคบเพลิงในวงกลมซ้อนสองวง ระหว่างวงกลมมีภาษาบาลีเขียนด้วยอักษรไทยว่า“อตฺตานํ อุปมํกเร” ครึ่งล่างมีคำว่า “มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์” คั่นด้วยลายดอกประจำยาม นำมาปรับใช้โดยนำตรางูพันคบเพลิงออก แล้วอัญเชิญตราส่วนพระองค์ของสมเด็จพระราชบิดาเข้าแทน และเปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัยจากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยมหิดล โดยให้คงภาษาบาลีคำว่า“อตฺตานํ อุปมํกเร”ไว้ เมื่อออกแบบเสร็จแล้วจึงนำเสนอทูลเกล้าฯ เพื่อขอพระบรมราชวินิจฉัย
จากการสอบถาม ศาสตราจารย์พิเศษ นายแพทย์สรรใจ แสงวิเชียร ที่ปรึกษาคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ผู้เชี่ยวชาญในพระราชกรณียกิจสมเด็จพระบรมราชชนก ได้ให้ข้อมูลว่า ตราที่เสนอทูลเกล้าถวายในครั้งนั้นเป็นตราประจำพระองค์ ซึ่งเป็นตราประทับในหนังสือส่วนพระองค์และสมุดบันทึกคำสอนในสมเด็จพระบรมราชชนก และตราประจำพระองค์นี้นั้นถือเป็นตราประจำพระองค์ขององค์ผู้เป็นต้นราชสกุล “มหิดล” จึงถือว่าตรานี้เป็นตราประจำราชสกุลมหิดลอีกด้วย
เหตุที่ตรามหาวิทยาลัยมหิดลแบบแรกยังคงมีอยู่จนถึงปัจจุบันนั้น สืบเนื่องมาจากศาสตราจารย์นายแพทย์ชัชวาล โอสถานนท์ อธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีดำริให้ศาสตราจารย์นายแพทยสุด แสงวิเชียร จัดทำตราดังกล่าวเป็น ๓ ตรา อัดลงบนกระดาษที่หนาพอตามเอกสารบันทึกข้อความหัวกระดาษมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ตามที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้วนั้น คาดว่าจะส่งไปถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหนึ่งตรา และถวายสมเด็จพระราชชนนี (สมเด็จพระศรีนครินทราพระบรมราชชนนี พระยศขณะนั้น-ผู้เขียน) อีกหนึ่งตรา
โดยตราที่ส่งไปถวายสมเด็จพระราชชนนี ฯ นั้นได้ทรงให้เลขานุการในพระองค์ มีหนังสือจากวังสระปทุม ลงวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๑๒ เรียน ท่าน อธิการบดี ความว่า “ทรงมอบเรื่องไว้ที่สำนักราชเลขาธิการเรียบร้อยแล้ว ขอให้ท่านได้ติดต่อกับสำนักราชเลขาธิการเพื่อดำเนินการต่อไป”
ส่วนตราอีกหนึ่งที่ได้เสนอทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อขอ พระบรมราชวินิจฉัยไปนั้น ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานแก่หม่อมราชวงศ์มิตรารุณ เกษมศรี สถาปนิกพิเศษประจำสำนักพระราชวังเพื่อเป็นต้นแบบในการปรับแก้ไขตรีและพระมหามงกุฏของตราให้เป็นแบบไทย
ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๑๒ มีหนังสือสำนักราชเลขาธิการ เรื่อง พระราชทานตรามหาวิทยาลัยมหิดล เลขที่ รล ๐๐๐๒/๒๙๗๙ ความว่า “ตามที่มหาวิทยาลัยมหิดลขอให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชทาน ตรามหาวิทยาลัย ความแจ้งอยู่แล้วนั้น ความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทานตรามหาวิทยาลัย ตามแบบตราที่แนบมาพร้อมหนังสือนี้”
ทั้งหมดนี้คือเหตุแห่งที่มาของการพระราชทานตรามหาวิทยาลัยมหิดล นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ที่ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานตราประจำพระองค์ของสมเด็จพระมหิตาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ให้แก่พวกเราชาวมหาวิทยาลัยมหิดล แสดงให้เห็นถึงน้ำพระราชหฤทัยอันประกอบไปด้วยพระเมตตาที่ทรงพระราชทานแก่ชาวมหาวิทยาลัยมหิดลอย่างหาที่สุดมิได้ ดังความในพระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่ชาวมหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสเสด็จฯ ทรงดนตรีเป็นการส่วนพระองค์ ณ สวนอัมพร พระราชวังดุสิต เมื่อวันเสาร์ ที่ ๒๙ กรกฏาคม ๒๕๑๓ ตอนหนึ่งว่า
“และโดยเฉพาะผู้ที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ก็ถือต่างเป็นลูกของท่าน ก็นับว่าเรามีสิ่งที่ใกล้เคียงกัน เพราะว่าเป็นลูกของท่านเหมือนกันและนับได้ด้วยว่ามีพี่น้องจำนวนมากน่าชื่นใจ คนที่เป็นพี่น้องกันควรช่วยกันเสมอ มีความสามัคคีกัน เพื่อที่จะให้วงศ์ตระกูลชื่อเสียงของตนดี สร้างสรรค์ให้ทำประโยชน์ให้ส่วนรวมมีความเจริญก้าวหน้า”
พวกเราชาวมหาวิทยาลัยมหิดทุกคนควรน้อมนำพระบรมราโชวาทในครั้งนี้ ใส่ไว้ เหนือเกล้าเหนือกระหม่อมตราบนิจนิรันดร์

เรื่องของเรื่อง ก่อนจะเลือน "ตึกกิจ"






เล่าเรื่องงานอำลาตึกกิจกรรมที่(เคย)ผ่านมา เมื่อเดือนกันยายน พุทธศักราช 2551 หลายคนที่เคยเป็น นักศึกษาปี 1 ณ ขณะนั้นเช่นเดียวกับผู้เขียนเอง คงจำมิลืมเลือน มหิดล ศาลายา ในช่วงนั้นได้ดี งานนั้นเริ่มต้นช่วงเช้าด้วยการทำบุญ เป็นกิจกรรมทำบัญตักบาตร เช่นวันธรรมดาทั่วไป สำหรับใครหลายคน หากทว่า ณ ตอนนั้น ไม่ธรรมดา สำหรับ ตึกกิจ(กรรม) ของมหาวิทยาลัย มหิดล วิทยาเขตศาลายา เพราะ....เป็นการร่วมทำบุญส่งท้ายให้กับตึกกิจ ซึ่งเป็นตึกที่อยู่คู่กับ มหิดล ศาลายา มายาวนาน ลมหายใจอันยาวนานมาก ผ่านร้อน ผ่านฝน มาเปรียบเสมือนกับเป็นนักศึกษามหิดล ศาลายา รุ่นแรกๆของที่นี้ก็ว่าได้ แต่การใช้งาน กับความต้องการให้มีการพัฒนาพื้นที่ใช้สอยที่เพิ่มขึ้น จึงทำให้ตึกกิจ(กรรม) จำเป็นที่จะต้องสร้างใหม่มาแทนที่
เมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรมช่วงเช้า ก็เริ่มต้นด้วยงานในช่วงเย็น มีบรรยากาศการขายของ การเริ่มต้นตะโกนส่งเสียงเรียกจากพ่อค้า แม่ค้าชมรม ร้านต่างๆที่เข้ามาขายของ รวมทั้งรับฟังวิสัยทัศน์ และแผนการพัฒนาต่างๆที่เกิดขึ้น ความเศร้าสำหรับรุ่นพี่นักกิจกรรมหลายๆคน ณ ขณะนั้นคงมีเกิดขึ้นกำบคำถามมากมาย พร้อมกับความสงสัยที่ว่า "จำเป็น" แค่ไหนกับการต้อง "ทุบ" ตึกกิจ(กรรม)ทิ้ง เพื่อปลูกสร้างสิ่งใหม่มาแทนที่....ทำให้ผู้เขียนเอง เริ่มรู้สึกอินกับความสงสัยมากมาย แต่ ณ วันนี้ เราเติบโตขึ้น เราย่อมต้องเข้าใจ ในทุกความเป็นไป ของมนุษย์
มหิดล คือ ศาลายา
ศาลายา คือ ชีวิตของพวกเรา
หากวันนี้ชีวิตเรา ก้าวเกิดนตามไม่ทัน คงจะไม่เกิด การพัฒนา การมีแผนพัฒนาของผู้บริหารมหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิด การพัฒนา ที่รอบรับกับจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มมากขึ้น เพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เป็นทั้งปัจจัยที่เอื้อต่อการดำเนินชีวิตที่หมุนเวียนไปให้พร้อม การสูญเสียครั้งนี้ ทำให้เกิด ความทรงจำอันล้ำค่ากับพวกเราทุกคน ผู้เป็นส่วนหนึ่งในตำนาน "อำลาตึกกิจ"
ลมหายของตึกกิจที่สิ้นไป ก็เหมือนกับการเริ่มต้นชีวิตของเรา ณ มหิดล ศาลายา เราได้เริ่มเรียนรู้ ที่จะรู้จักเพื่อน ก็โปรดอย่าเลือนเพื่อนที่ไม่ได้เห็นหน้าเถอะ เพราะไฉน ก็เป็น เพื่อนเสมอ จงเก็บความรู้สึกดีดีไว้บอกต่อ คนที่ได้รู้จักว่า "ตึกกิจ" สมัยที่เราได้มีโอกาสใช้ชีวิตในนี้ มันเป็นเช่นไร แม้ว่าจะเปลี่ยนแปลงเป็นอดีตไปแล้วก็ตาม
ขอขอบคุณ รูปจาก : MUPHOTO

"A Day in Life at Mahidol Salaya" ชีวิตในมหิดลศาลายา


"วันหนึ่งในชีวิตที่มหิดล ศาลายา" เป็นหนังสั้นที่ผลิตขึ้นสำหรับนักเรียนมัธยมปลายโดยเฉพาะ เพื่อให้เห็นชีวิตความเป็นอยู่ของนักศึกษาที่ศาลายาชีวิตนักศึกษาใน มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาที่ซึ่งต้อนรับนักศึกษาปีละเกือบ 5,000 คน บางส่วนก็ศึกษาอยู่ที่นี่ในชั้นปี 1 ก่อนที่จะแยกย้ายไปศึกษาต่อที่วิทยาเขตอื่น บางส่วนก็อยู่ที่นี่จนจบการศึกษาวันเวลาในศาลายา จึงเป็นประสบการณ์ชีวิตที่สำคัญ ของชาวมหิดลทุกคน

อำนวยการผลิต โดยกองกายภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล



มหิดล ศาลายาในช่วงระยะเวลาของการเป็นนักศึกษา ของการได้เป็นผู้หนึ่ง ที่อยู่ภายใต้ร่มเงาของรั้วสีน้ำเงิน ของการเป็นลูกของพระราชบิดา ปีการศึกษาใหม่ได้เริ่มเวียนมาอีกครั้ง การเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่นี้ หลายๆครั้งที่ต้องรู้สึกบ้างในบางครั้งของการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของชีวิตเธอ การได้เริ่มเรียนรู้เพื่อนใหม่ การเรียนรู้จักสิ่งที่อยู่ในห้องเรียน แต่สิ่งที่สำคัญ ที่เธอควรจะจดจำไว้ ในสิ่งที่สำคัญ คือการจดจำช่วงเวลาที่ดี ณ มหิดล ศาลายา



มหิดล ศาลายา

มหิดล ความทรงจำ

มหิดล ภาพเก่าเก่า

มหิดล เป็นส่วนหนึ่ง

มหิดล คือบ้านเรา

มหิดล คือชีวิต

มหิดล ความผูกพัน

มหิดล ศาลายา

ศาลายา คือที่พัก

ศาลายา คือจั๊กก้า

ศาลายา คือสวนหมุน

ศาลายา คือ เพื่อน เรา