WELOVEMAHIDOL

เราเป็นหนึ่งกลุ่มของ นักศึกษา ของ "มหิดล"หนึ่งกลุ่มของหนุ่ม สาว ผู้เคยใช้ชีวิตปีหนึ่ง ใน มหิดล ศาลายาหนึ่งกลุ่มของ ควาทรงจำ ที่เคยไหลเวียน ณ มหิดล ศาลายา จึงเป็นที่มาของ "เรา รัก มหิดล" welovemahidol เพราะใครๆก็เคย มีความทรงจำดีดี
มหิดล ศาลายา ที่แห่งนี้เป็น เสมือนบ้าน มหิดล ศาลายา ที่แห่งนี้เป็น เสมือนกำลังใจ มหิดล ศาลายา ที่แห่งนี้เป็น เสมือนความทรจำ มหิดล ศาลายา ที่แห่งนี้เป็น เสมือนความรักอันหอมหวาน
เพราะเราเชื่อว่า นักศึกษา และ(อดีต)นักศึกษา ผู้ที่เคย ได้ใช้ชีวิต ช่วงเวลาที่ดีดี ณ มหิดล ศาลายา ณ ที่แห่งนี้ ยังคงมีเรื่องราว ความทรงจำที่ดี อันมีคุณค่ากับหลายคน แม้ว่า ปัจจุบัน มหิดล ศาลายา จะเปลี่ยนแปลงไปมากเท่าใดก็ตาม แม้ว่าตึกกิจที่ใครหลายคน เคยได้ใช้ช่วงเวลาที่ดี นั้นไม่มีอีกแล้ว แต่เชื่อเถอะว่า ความทรงจำทีดีดีที่เราทุกคนยังเหลืออยู่ ก็ยังมีใคร อีกหลายคนที่คิดถึงเช่นกัน
มหิดล ศาลายา

วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

24 กันยายน วันมหหิดล


วันนี้วันมหิดล ๒๔ กันยายน เรานักศึกษาของพระราชบิดา ยังคงจดจำ และระลึกถึงปณิธานของพระองค์ท่าน
ที่ได้มอบให้เป็นสิ่งที่ยึดถือไว้ นั้นคือ"ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
ลาภทรัพย์และเกียรติยศจะตกมาแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ให้บริสุทธิ์
"
แต่ ณ วันนี้ปณิธานใหม่ของมหาวิทยาลัยมหิดลคือ: "ปัญญาของแผ่นดิน"
ดังนั้นเพื่อที่จะรู้ซึ้งถึงความหมายของปณิธานใหม่มหาวิทยาลัยมหิดล คือ “ปัญญาของแผ่นดิน”
ก่อนอื่นจำเป็นต้องพิจารณาคำหลัก 2 คำที่เกี่ยวข้อง คือ มหิดล อันเป็นชื่อของมหาวิทยาลัย
และ ปัญญา หรือ wisdom ตามคติพระพุทธศาสนา
ความหมายของ มหิดล คำว่า มหิดล เป็นคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต
จาก มหี “แผ่นดิน” + ตล “พื้น, ชั้น” มหิดล จึงแปลได้ว่า “พื้นแผ่นดิน”
คำอื่นๆ ในภาษาไทยที่มีโครงสร้างคำและความหมายในลักษณะ เดียวกันก็ได้แก่ พสุธาดล, ภูวดล
และ เมทนีดล (จาก วสุธา + ตล, ภุว + ตล และ เมทนี + ตล ตามลำดับ) คำชุดนี้ ซึ่งมีปรากฏในพจนานุกรม
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ล้วนแปลได้ ว่า “พื้นแผ่นดิน, พื้นโลก”
นอกจากพจนานุกรมไทยแล้ว ความหมายของ มหีตล จะกระจ่างขึ้นโดยอาศัยแหล่งอ้างอิง ดังต่อไปนี้
The Pali Text Society’s Pali-English Dictionary ของ Rhys Davids ให้ความหมายของ มหี ว่า “โลก” และ มหีตล “พื้น (โลก)”
The Practical Sanskrit-English Dictionary ของ Apte ให้ความหมายของ มหีตล ว่า “พื้นผิวโลก”
ในทำนองเดียวกัน A Sanskrit-English Dictionary ของ Monier-Williams ให้ความหมาย ของ มหี, ตล และ มหีตล
ดังนั้น มหี “ ‘โลกใหญ่’ โลก (ในภาษายุคหลัง หมายถึง พื้นแผ่นดิน, พื้นดิน, แผ่นดิน, ประเทศ ...” ด้วย)
ตล “พื้นผิว, ชั้น, หลังคาแบน (ของบ้าน) ...”
มหีตล “พื้นผิวโลก, พื้นแผ่นดิน, พื้นดิน”
ท้ายที่สุด A Practical Sanskrit Dictionary ของ Macdonell ให้ความหมายของ มหี ว่า “โลก, พื้นแผ่นดิน, พื้นดิน, แผ่นดิน, ประเทศ, อาณาจักร ...” และให้ความหมายของ ตล ว่า “พื้นผิว, ระนาบ; ... -ตล ที่ลงท้ายคำสมาส มักไม่ต้องแปล”
จากข้อมูลข้างต้นนี้ พอจะสรุปได้ว่า มหีตล (มหี + ตล) ในบาลีและสันสกฤต แปลตามรูปศัพท์ได้ว่า “พื้นผิวโลก, พื้นแผ่นดิน”
แต่เนื่องจาก ตล ที่อยู่ท้ายสมาส มักไม่สื่อความเพิ่ม คำว่า มหีตล (แผลงเป็น มหิตล และ มหิดล ใน ภาษาไทย) จึงมีความหมายเพียงว่า “โลก, พื้นแผ่นดิน, พื้นดิน” และใช้ในความหมายว่า “แผ่นดิน, ประเทศ, อาณาจักร” ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น